วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เรียนภาษา มาเลเซีย ไว้สักนิด ก็ดีครับ ^^

ภาษามาเลย์
Bahasa Melayu, بهاس ملايو
(บาฮาซา มลายู)
พูดใน:ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไนประเทศสิงคโปร์ ทางใต้ของประเทศไทย ทางใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ พื้นที่ต่อเนื่องของประเทศอินโดนีเซีย
จำนวนผู้พูด:20-30 ล้าน 
อันดับ:54
ตระกูลภาษา:ออสโตรนีเซียน
ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย
ภาษากลุ่มนิวเคลียร์มาลาโย-โพลีเนเซีย
ภาษากลุ่มซุนดา-สุลาเวสี
ภาษากลุ่มมาเลย์อิก
มาลายัน
มาเลย์ท้องถิ่น
 ภาษามาเลย์ 
ระบบการเขียน:อักษรละติน, อักษรอาหรับ 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน:ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ประเทศสิงคโปร์
ผู้วางระเบียบ:Dewan Bahasa dan Pustaka (Institute of Language and Literature: สถาบันภาษาและวรรณกรรม)
รหัสภาษา
ISO 639-1:ms
ISO 639-2:may (B) msa (T)
ISO 639-3:มีหลากหลาย:
msa — ภาษามาเลย์ทั่วไป
mly — ภาษามาเลย์เฉพาะ
btj — ภาษามาเลย์บาคานีส
bve — ภาษามาเลย์เบราว
bvu — ภาษามาเลย์บูกิต
coa — ภาษามาเลย์หมู่เกาะโคคอส
jax — ภาษามาเลย์จามบิ
meo — ภาษามาเลย์เกดะห์
mqg — ภาษามาเลย์โกตา บังกุน กูไต
xmm — ภาษามาเลย์มานาโด
max — ภาษามาเลย์โมลุกกะเหนือ
mfa — ภาษามลายูปัตตานี
msi — ภาษามาเลย์ซาบาห์
vkt — ภาษามาเลย์เต็งการง กูไต
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (มาเลย์Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาเกมทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน


ภาษามาเลย์เป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 3 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำไวยากรณ์ 

หน่วยคำเติม 

รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil(เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)

ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน)
  • ajaran = คำสอน
  • belajar = กำลังเรียน
  • mengajar = สอน
  • diajar = (บางสิ่ง) กำลังถูกสอน
  • diajarkan = (บางคน) กำลังถูกสอน(เกี่ยวกับบางสิ่ง)
  • mempelajari = เรียน(บางอย่าง)
  • dipelajari = กำลังถูกศึกษา
  • pelajar = นักเรียน
  • pengajar = ครู
  • pelajaran = วิชาเรียน
  • pengajaran = บทเรียน
  • pembelajaran = การเรียนรู้
  • terpelajar = ถูกศึกษา
  • berpelajaran = มีการศึกษาดี
หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์
หน่วยคำเติมสร้างคำนาม เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำนาม ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง
ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคpe(N)-duduk (นั่ง)penduduk (ประชากร)
ke-hendak (ต้องการ)kehendak (ความต้องการ)
อาคม-el-tunjuk (ชี้)telunjuk (คำสั่ง)
-em-kelut (ยุ่งเหยิง)kemelut (วิกฤติ)
-er-gigi (ฟัน)gerigi (toothed blade)
ปัจจัย-anbangun (ยกขึ้น)bangunan (การสร้าง)
Circumfixke-...-anraja (กษัตริย์)kerajaan (ราชอาณาจักร/ราชการ/รัฐบาล)
pe(N)-...-ankerja (ทำงาน)pekerjaan (อาชีพ)
หน่วยคำเติมสร้างคำกริยา เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำกริยา ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง
ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคbe(R)-ajar (สอน)belajar (เรียน) - Intransitive
me(N)-tolong (ช่วย)menolong (ช่วย) - Active transitive
di-ambil (นำไป)diambil (ถูกนำไป) - Passive transitive
mempe(R)-kemas (เป็นลำดับ)memperkemas (จัดเรียงต่อไป)
dipe(R)-dalam (ลึก)diperdalam (ลึกลงไป)
te(R)-makan (กิน)termakan (ถูกกินทันทีทันใด)
ปัจจัย-kanletak (เก็บ)letakkan (เก็บ) - คำสั่ง
-ijauh (ไกล)jauhi (หลีกเลี่ยง) - คำสั่ง
Circumfixbe(R)-...-anpasang (ซ่อม)berpasangan (ถูกซ่อม)
be(R)-...-kantajuk (หัวข้อ)bertajukkan (ถูกตั้งหัวข้อ)
me(N)-...-kanpasti (แน่นอน)memastikan (มั่นใจ)
me(N)-...-iteman (companion)menemani (to accompany)
mempe(R)-...-kanguna (ใช้)mempergunakan (to misuse, to utilise)
mempe(R)-...-iajar (teach)mempelajari (to study)
ke-...-anhilang (หายไป)kehilangan (หาย)
di-...-isakit (เจ็บ)disakiti (เจ็บปวด)
di-...-kanbenar (ถูก)dibenarkan (ถูกอนุญาต)
dipe(R)-...-kankenal (จำได้)diperkenalkan (ถูกแนะนำ)
หน่วยคำเติมสร้างคำคุณศัพท์ เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง:
ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคte(R)-kenal (รู้จัก)terkenal (มีชื่อเสียง)
se-bijak (ฉลาด)sebijak (ฉลาดเท่ากับ)
อาคม-el-serak (disperse)selerak (messy)
-em-cerlang (radiant bright)cemerlang (bright, excellent)
-er-sabut (husk)serabut (ยุ่งเหยิง)
Circumfixke-...-anbarat (ตะวันตก)kebaratan (ทำให้เป็นทั่วไป)
ภาษามาเลย์มีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha- juru- pasca- eka- anti- pro-

คำประสม 

          คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ kita หมายถึง เรา kasih " รัก kamu "คุณ รวมกันเป็น เรารักคุณ

การซ้ำคำ

การซ้ำคำในภาษามาเลย์มี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย

ลักษณนาม

ภาษามาเลย์มีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆในเอเชีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนามและภาษาเบงกาลี

คำทำงาน

มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธและคำอื่นๆ

คำปฏิเสธ 

คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามาเลย์มี 2 คำ คือ bukan และ tidak bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์
ประธานคำปฏิเสธการบ่งชี้
Lelaki yang berjalan dengan Fazila itu
(เด็กชายคนนั้นที่กำลังเดินกับฟาซิลา)
bukan
(ไม่ใช่)
teman lelakinya
(แฟนของหล่อน)
Surat itu
(จดหมายฉบับนั้น)
bukan
(ไม่ได้)
daripada teman penanya di Perancis
(มาจากญาติของเขาในฝรั่งเศส)
Pelajar-pelajar itu
(นักเรียนเหล่านั้น)
tidak
(ไม่)
mengikuti peraturan sekolah
(เชื่อฟังกฎของโรงเรียน)
Penguasaan Bahasa Melayunya
(คำสั่งของเขาในภาษามาเลย์)
tidak
(ไม่)
sempurna
(สมบูรณ์)
คำ bukan อาจใช้นำหน้า กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง
ประธานการปฏิเสธการทำนายความขัดแย้ง
Karangannya
(เรียงความของเขา)
bukan
(ไม่)
baik sangat,
(ดีมาก)
tetapi dia mendapat markah yang baik
(แต่เขาได้คะแนนดี)
Kilang itu
(โรงงาน)
bukan
(ไม่)
menghasilkan kereta Kancil,
(ผลิตรถ Kancil )
sebaliknya menghasilkan Proton Wira
(แต่ผลิต Proton Wira แทน)

เพศทางไวยากรณ์

โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ putera (เจ้าชาย)

การทำให้เป็นพหูพจน์ 

โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang แต่ใช้ banyak orang (ตรงตัว: คนหลายคน)คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์
นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามาเลย์

คำกริยา 

ไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว) แต่ภาษามาเลย์มีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา

การเรียงลำดับคำ 

โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย

คำยืม 

         ภาษามาเลย์มีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนา) ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีนบางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ๆมักมาจากภาษาอังกฤษ โดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค

ตัวอย่างคำศัพท์ 

  • stesen สเตเซน = สถานี
  • tandas ตันดาส = ห้องสุขา
  • bilik บิลิก = ห้อง
  • restoran เรสทอรัน = ภัคตาคาร
  • lapangan terbang ลาปันกัน เตอร์บัง = ท่าอากาศยาน
  • taman ตามาน = สวนสาธารณะ
  • pergi, tiba/sampi เปอร์กี, ติบา/ซัมปิ = ไป, ถึง
  • saya/aku ซายา/อากู = ผม,ฉัน
  • dia เดีย = เขาผู้หญิง/เขาผู้ชาย
  • ia เอีย = มัน (คน)
  • mereka, dia orang เมเรกา, เดีย โอราง = เขาทั้งหลาย
  • terima kasih เตริมา กาซิห์ = ขอบคุณ
  • hari ini ฮารี อีนี = วันนี้
  • besok เบซอก = พรุ่งนี้
  • malam ini มาลาม อีนี = คืนนี้
  • semalam/kelmarin เซมาลาม/เคลมาริน = เมื่อวานนี้
  • pelaneong เปลาเนออง = นักท่องเที่ยว
  • tutup ตูตุป = ปิด
  • buka บูกา = เปิด
  • baik บาอิก = ดี
  • jahat จาฮัต = เลว
  • betul เบตูล = ถูก
  • salah ซาละห์ = ผิด
  • sarapan ซาราปัน = อาหารเช้า
  • makan tengah hari มากัน เตนกะห์ ฮารี = อาหารเที่ยง
  • mahal มาฮัล = แพง
  • marah มาระห์ = ถูก
  • panas ปานัส = ร้อน
  • sejuk เซจุก = หนาว
  • makan malam มากัน มาลัม = อาหารเย็น
  • kertas pembalut เกอร์ตัส เปมบาลุต = กระดาษห่อของ
  • sikat ซีกัต = หวี
  • pembersih เปมเบอร์ซิห์ = ผงซักฟอก
  • tas ตัส = กระเป๋าเดินทาง
  • sampul surat ซัมปุล ซูรัต = ซองจดหมาย
  • hadia ฮาดีอา = ของขวัญ
  • topi โตปี = หมวก
  • geretan เกเรตัน = ไฟแช็ก
  • jarum จารุม = เข็ม
  • syampu ชามปู = แชมพูสระผม
  • kasut กาซุต = รองเท้า
  • sabung ซาบง = สบู่
  • berus gigi เบรุส กีกี = แปรงสีฟัน
  • ubat gigi อูบัต กีกี = ยาสีฟัน
  • payung ปายง = ร่ม

อิทธิพลของภาษามาเลย์ในภาษาไทย 

ภาษามาเลย์มีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่างๆ ดังนี้
  • ในวรรณคดี ได้แก่ บุหลัน บุหงา ฯลฯ
  • ในภาษาพูดทั่วไป เช่น บ้าน
  • ในราชาศัพท์ เช่น
  • ในชื่อ จังหวัด เช่น ปัตตานี นราธิวาส ฯลฯ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น