วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รับจัดโปรแกรมอบรมภาษาอังกฤษตามหัวข้อขององค์กร และสถาบัน ณ. เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย


          ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกประเทศ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ภาษาอังกฤษจะเริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะถูกผลักดันให้เข้าร่วมกับประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้เราต้องติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศมากขึ้น

เราจะออกแบบการเรียนให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน โดยอาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ที่เหมาะสมกับธุรกิจของผู้เรียน

ติดต่อเรา
Learning For Fun Co. Ltd
214/3 Phachatipat R.
Hadyai Songkhla 90110, Thailand

Tel.  +66 84 8551101,

 +66 81 6252983 ,  +66 74 209712


รับจัดโปรแกรมทัศนศึกษาและกิจกรรมความรู้ืทางภาษาอังกฤษในต่างประเทศ

          ทางเรา รับจัดโปรแกรมทัศนศึกษาและกิจกรรมความรู้ืทางภาษาอังกฤษในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอเมริกา นักเรียน นักศึกษาที่จะไปเรียนภาษาอังกฤษในต่างประเทศจะได้ทั้งความรู้และความสนุกแน่นอน ไม่เบื่อกับกิจกรรมที่จำเจ ทั้งได้ท่องเที่ยวหาประสบการณ์ใหม่ๆอีกด้วย

ติดต่อเรา
Learning For Fun Co. Ltd
214/3 Phachatipat R.
Hadyai Songkhla 90110, Thailand

Tel.  +66 84 8551101,

 +66 81 6252983 ,  +66 74 209712

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เรียนภาษา มาเลเซีย ไว้สักนิด ก็ดีครับ ^^

ภาษามาเลย์
Bahasa Melayu, بهاس ملايو
(บาฮาซา มลายู)
พูดใน:ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไนประเทศสิงคโปร์ ทางใต้ของประเทศไทย ทางใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ พื้นที่ต่อเนื่องของประเทศอินโดนีเซีย
จำนวนผู้พูด:20-30 ล้าน 
อันดับ:54
ตระกูลภาษา:ออสโตรนีเซียน
ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย
ภาษากลุ่มนิวเคลียร์มาลาโย-โพลีเนเซีย
ภาษากลุ่มซุนดา-สุลาเวสี
ภาษากลุ่มมาเลย์อิก
มาลายัน
มาเลย์ท้องถิ่น
 ภาษามาเลย์ 
ระบบการเขียน:อักษรละติน, อักษรอาหรับ 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน:ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ประเทศสิงคโปร์
ผู้วางระเบียบ:Dewan Bahasa dan Pustaka (Institute of Language and Literature: สถาบันภาษาและวรรณกรรม)
รหัสภาษา
ISO 639-1:ms
ISO 639-2:may (B) msa (T)
ISO 639-3:มีหลากหลาย:
msa — ภาษามาเลย์ทั่วไป
mly — ภาษามาเลย์เฉพาะ
btj — ภาษามาเลย์บาคานีส
bve — ภาษามาเลย์เบราว
bvu — ภาษามาเลย์บูกิต
coa — ภาษามาเลย์หมู่เกาะโคคอส
jax — ภาษามาเลย์จามบิ
meo — ภาษามาเลย์เกดะห์
mqg — ภาษามาเลย์โกตา บังกุน กูไต
xmm — ภาษามาเลย์มานาโด
max — ภาษามาเลย์โมลุกกะเหนือ
mfa — ภาษามลายูปัตตานี
msi — ภาษามาเลย์ซาบาห์
vkt — ภาษามาเลย์เต็งการง กูไต
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (มาเลย์Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาเกมทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน


ภาษามาเลย์เป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 3 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำไวยากรณ์ 

หน่วยคำเติม 

รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil(เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)

ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน)
  • ajaran = คำสอน
  • belajar = กำลังเรียน
  • mengajar = สอน
  • diajar = (บางสิ่ง) กำลังถูกสอน
  • diajarkan = (บางคน) กำลังถูกสอน(เกี่ยวกับบางสิ่ง)
  • mempelajari = เรียน(บางอย่าง)
  • dipelajari = กำลังถูกศึกษา
  • pelajar = นักเรียน
  • pengajar = ครู
  • pelajaran = วิชาเรียน
  • pengajaran = บทเรียน
  • pembelajaran = การเรียนรู้
  • terpelajar = ถูกศึกษา
  • berpelajaran = มีการศึกษาดี

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ระบบการศึกษามาเลเซีย

ระบบการศึกษาประเทศมาเลเซีย           ระบบการบริหาร การศึกษาของประเทศมาเลเซีย อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งระดับการบริหารเป็น 5 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับอำเภอ ระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับโรงเรียน การบริหารการศึกษาระดับชาติ

อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federal Government) การศึกษาทุกประเภททุกระดับอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียว ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) จะมีกรมจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน กรมเกษตร เป็นต้น
ระบบการจัดการศึกษาของมาเลเซีย (National Education System) เป็นระบบ 6:3:2 คือ

   - ระดับประถมศึกษา หลักสูตร 6 ปีการศึกษา
   - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปีการศึกษา
   - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 2 ปีการศึกษา
   - ระดับเตรียมอุดมศึกษา หลักสูตร 1 หรือ 2 ปีการศึกษา 
      - ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรเฉลี่ยประมาณ 3 ปีครึ่งถึง 4 ปีการศึกษา 

     และแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ระดับดังนี้ 
       1. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Pre-school Education)
       2. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Primary Education)
       3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)
       4. การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาหรือเตรียมอุดมศึกษา (Post-secondary Education)
       5. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

    ส่วนสถานศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
      1. สถานศึกษาของรัฐบาล (Government Education Institutions)
      2. สถานศึกษาในอุปถัมภ์ของรัฐบาล (Government-aided Educational Institutions)
      3. สถานศึกษาเอกชน (Private Educational Institutes)
ทำไมถึงเลือกเรียนที่มาเลเซีย
    ประเทศมาเลเซียกำลังนับถอยหลังจากประเทศกำลังพัฒนาสู่ การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยเริ่มนับถอยหลังกันตั้งแต่ปี 2011ที่ผ่านมา โดยปี 2021 จะประการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มาเลเซียเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพใกล้เคียงกับเมืองไทย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเรียน ค่าอาหาร และ ที่พัก ถูกกว่าที่จะไปเรียนที่ สิงคโปร์, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, อเมริกา เป็นต้น
    การเดินทางก็ง่ายและ สะดวก เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีชายแดนติดอยู่กับประเทศไทย สามารถเลือกเดินทางด้วยทางรถยนต์, รถไฟ หรือ เครื่องบิน
    นอกจากนี้ศึกษาที่มาเลเซียนักเรียนยังสามารถมีความรู้ได้ 2 – 3 ภาษา คือภาษาอังกฤษ และ ภาษาจีน หรือ ภาษามาลายูได้ค่ะ